jos55 AR EXPERIENCE - def2design.com

 

ในเรื่องของการตรวจสอบคำผิด การตัดคำ ของหนังสือรายงานประจำปี เป็นประเด็นสำคัญของการออกแบบรายงานประจำปี เนื่องจากหนังสือประเภทนี้ เป็นหนังสือที่มีความเป็นทางการ และต้องมีความสมบูรณ์ ไม่มีความผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้น เนื่องจาก จะส่งผลต่อความเข้าใจผิดพลาด และภาพลักษณ์ขององค์กรเป็นอย่างมาก
การตรวจสอบคำผิด จึงเป็นขั้นตอนสำคัญของการออกแบบและผลิตรายงานประจำปี
คำถามก็คือ การตรวจสอบคำผิดควรเริ่ม ทำ ณ จุดใดบ้าง หนังสือส่วนใหญ่ ก็มักจะทำในขั้นตอนสุดท้ายคือ ก่อนที่จะทำการ Digital Proof แต่สำหรับ หนังสือรายงานประจำปีแล้ว บอกได้เลยว่า การตรวจสอบ ณ ขั้นตอนดังกล่าว จะทำให้งานล่าช้า และมีความเสี่ยงกับการบริหารจัดการโครงการเป็นอย่างมาก เนื่องจาก เป็นโครงการที่มีข้อจำกัดทางด้านเวลา
ด้วยข้อจำกัด และการบริหารความเสี่ยงที่ดี ทางบริษัทฯ จะทำการตรวจสอบคำผิด และตัดคำในทุกๆ ครั้งก่อนจัดส่ง ให้ลูกค้าเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดงานตรวจที่สะสม นอกจากนี้ การบริหารเวอร์ชั่น ของ Artwork ก็สำคัญ ควรมีระบบ Backup ที่ดี ในกรณีที่มีไฟล์เสียหาย การกู้กลับ ควรระบุได้ว่า เป็นเวอร์ชั่น ของการตรวจ ณ วันใด
อีกประเด็น เรื่องของการนำเทคโนโลยีการออก Digital Proof ที่ให้สี ใกล้เคียงกับคุณภาพการพิมพ์แบบ Offset ก็มีส่วนสำคัญ เนื่องจาก แม้ว่าจะมีการตรวจสอบในทุกครั้งของการจัดส่งงานให้ลูกค้าตรวจก็ตาม ความเสี่ยงของความผิดพลาด ก่อนการพิมพ์จริง ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ ดังนั้น หากดำเนินการทำ Plate Proof ซึ่งให้สีตรงกับ คุณภาพงาน Offset (เนื่องจากเป็นการตรวจสอบด้วยการพิมพ์ Offset เช่นเดียวกับงานจริง) แต่เมื่อความผิดพลาดตรวจสอบพบ ก็จะมีค่าใช้จ่ายในการ ทำ Plate รวมถึงเสียเวลาในการทำ Plate ซึ่งใช้เวลานาน ไม่เหมาะกับรูปแบบงานของการออกแบบและผลิตหนังสือรายงานประจำปี
นอกจากนี้ หากคุณภาพงานพิมพ์ Digital Proof ต่ำ ก็มีความเสี่ยงที่งานพิมพ์จริงออกมาก มีคุณภาพงานไม่ตรงตามความคาดหวังของลูกค้า ก็เรียกว่า ตกม้าตาย ตอนจบ ในที่สุด
สนใจบริการออกแบบ Annual Report จากทีมงานคุณภาพ คลิกที่นี่

ar experience 5

ในเรื่องของการตรวจสอบคำผิด การตัดคำ ของหนังสือรายงานประจำปี แบบ 56-1 One Report เป็นประเด็นสำคัญของการออกแบบรายงานประจำปี แบบ 56-1 One Report เนื่องจากหนังสือประเภทนี้ เป็นหนังสือที่มีความเป็นทางการ และต้องมีความสมบูรณ์ ไม่มีความผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้น เนื่องจาก จะส่งผลต่อความเข้าใจผิดพลาด และภาพลักษณ์ขององค์กรเป็นอย่างมาก 

 

ar_experience_2

การเลือกกระดาษสำหรับการออกแบบ และผลิตรายรายงานประจำปี แบบ 56-1 One Report นั้น ต้องออกตัวก่อนเลยว่า กระดาษนั้นมีให้เลือกหลากหลายชนิดมาก แต่ในหัวข้อนี้ ขอแนะนำกระดาษที่เป็นพื้นฐาน หรือเรียกว่าเป็นที่นิยมสำหรับการออกแบบและผลิตรายงานประจำปี แบบ 56-1 One Report ซึ่งกระดาษแต่ละชนิด มีต้นทุนที่ต่างกัน จากประสบการณ์ เนื้อกระดาษที่ลูกค้าถูกใจมักจะเป็นกระดาษที่มีต้นทุนสูง และยิ่งนำมาผลิตเป็นหนังสือรายงานประจำปีด้วยแล้ว (จำนวนหน้า มากกว่า 150 หน้าโดยเฉลี่ย หรือบางเล่มมีมากกว่า 200 หน้า) ส่งผลให้ต้นทุนรวมของลูกค้าสูง และอาจสูงกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ ดังนั้น เราควรเลือกกระดาษที่เหมาะสม และ มีต้นทุนที่ลูกค้ารับได้

 

 

ar experience 3

ในเรื่องของการตรวจสอบสีก่อนพิมพ์งานจริง ของงานออกแบบและผลิตรายงานประจำปี แบบ 56-1 One Report นั้นมักเป็นขั้นตอนที่ทุกคนเข้าใจถึงความสำคัญ แต่มักจะละเลยของตรวจไป เนื่องจากระยะเวลาอันจำกัดที่มีของโครงการ รวมถึงความสำคัญส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่ความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งลูกค้าจะให้ความสำคัญ และในบางครั้ง ก็มองข้ามในส่วนนี้ไปเลย ทางบริษัทเองก็มักจะเข้าใจว่าทางลูกค้าได้ตรวจสอบทั้งหมดแล้ว ไม่เพียงแค่ ความถูกต้องของข้อมูลเท่านั้น  

 

 

ar experience 4

ทุก ๆปี สำหรับทุกองค์กร มีผลการดำเนินมากมายจากทุกฝ่ายของบริษัท หรือจากบริษัทร่วมทุน จากบริษัทในเครือ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรวบรวมข้อมูล ผลงาน และรายงานความเคลื่อนไหวที่ผ่านมาขององค์กร ให้แก่สังคม ผู้ถือหุ้น และผู้ที่ติดตามผลงานของบริษัทให้ทราบ ซึ่งรูปแบบการจัดทำรายงานประจำปี (Annual Report) 

ar experience 6

รายงานประจำปีเป็นสื่อเผยแพร่สาธารณะ ที่องค์กรใช้เผยแพร่ให้กับผู้ถือหุ้น และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
สืบเนื่องจาก เนื้อหาสาระ ของรายงานประจำปี จะเกี่ยวข้องกับการแสดงผลทางตัวเลข อาทิ ข้อมูลสรุปยอดขาย
ข้อมูลสรุปเปรียบเทียบต่างๆ เป็นต้น ส่งผลให้ กราฟ มีส่วนสำคัญ ในการร่วมใช้ในการ ออกแบบรายงานประจำปี
โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ ผู้อ่าน สามารถเปรียบเทียบ ขัอมูลทางตัวเลขได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
ประเภทของกราฟ ที่นิยม นำมาใช้ในการออกแบบรายงานประจำปี
1.กราฟแท่ง
เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างทางปริมาณ
ลักษณะ
1. ทุกแท่งมีความกว้างเท่ากัน
2. ความยาวของแต่ละแท่งขึ้นกับจำนวนที่เปรียบเทียบ
2. กราฟเส้น
ดูการเปลี่ยนแปลงเมื่อ เวลา
หรือสถานการณ์เปลี่ยน
ลักษณะ
ความสูง/ต่ำ ของเส้นกราฟ
ขึ้นกับปริมาณจำนวนที่เก็บ
ข้อมูลได้
3. กราฟเรดาห์
แสดงภาพรวมทั้งหมดของ
สิ่งที่สนใจศึกษา กับปริมาณ
ที่เกิดขึ้นจริง
ลักษณะ
กำหนดหัวข้อที่วัดค่าได้ แล้ว
แสดงค่าในแต่ละเรื่อง จะช่วย
ให้มองเห็นภาพรวม และเข้าใจ
กราฟเรดาห์ ได้ง่ายขึ้น
4. กราฟวงกลม
แสดงสัดส่วนของข้อ
มูลที่ต่างกัน
ลักษณะ
เป็นภาพวงกลมแยกเป็นสัดส่วนตาม
ปริมาณที่เกิดขึ้นในแต่ละเรื่อง ช่วย
ให้เข้าใจความสัมพันธ์ของสัด ส่วน
ได้ง่าย
5. กราฟเข็มขัด หรือ กราฟแถบ
แสดงสัดส่วนของข้อมูลที่
ต่างกัน ในแต่ละช่วงเวลา
ลักษณะ
เป็นเส้นเข็มขัด หรือคล้ายกราฟแท่ง
แนวนอน แต่แยกเป็นสัดส่วนตาม
ปริมาณที่เกิดขึ้นในแต่ละเรื่องช่วย
ให้เข้าใจความสัมพันธ์ของสัด ส่วน
ได้ง่ายขึ้น
ทั้งนี้การเลือกใช้กราฟ นอกจากเลือกใช้ ประเภทกราฟที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับเนื้อหา สารสนเทศ ที่นำเสนอแล้วนั้น การออกแบบรายงานประจำปี ก็ควรคำนึงถึง
การใช้สี ซึ่งควรจะสามารถแยกแยะ ข้อมูลเปรียบเทียบของกราฟในแต่ละข้อมูล ได้อย่างชัดเจน ไม่ควรใช้สีของกราฟ ที่กลมกลืนกัน แยกแยะความแตกต่างได้ยาก รวมถึง
ต้องคำนึงถึง จุดเด่น ต่างๆ (Hightlight) ที่องค์กรต้องการให้ผู้อ่าน เข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการนำเสนอ ซึ่งสีสันของกราฟนั้น ก็ต้องนำเสนอให้ดึงดูดผู้อ่าน
รายงานประจำปี แบบ 56-1 One Reportเป็นสื่อเผยแพร่สาธารณะ ที่องค์กรใช้เผยแพร่ให้กับผู้ถือหุ้น และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
สืบเนื่องจาก เนื้อหาสาระ ของรายงานประจำปี จะเกี่ยวข้องกับการแสดงผลทางตัวเลข อาทิ
ข้อมูลสรุปยอดขาย ข้อมูลสรุปเปรียบเทียบต่างๆ เป็นต้น ส่งผลให้ กราฟ มีส่วนสำคัญ ในการ
ร่วมใช้ในการออกแบบรายงานประจำปี แบบ 56-1 One Report โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ ผู้อ่าน สามารถเปรียบเทียบ
ขัอมูลทางตัวเลขได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

ประเภทของกราฟ ที่นิยม นำมาใช้ในการ
ออกแบบรายงานประจำปีมีดังต่อไปนี้ 

ar experience 7

 

รายงานประจำปี แบบ 56-1 One Report จัดเป็นสื่อเผยแพร่ชนิดหนึ่ง ที่บริษัทใช้สำหรับรายงานผลการดำเนินงานของบริษัทให้กับผู้ถือหุ้น ผู้ซึ่งถือเสมือนเป็นเจ้าของบริษัท โดยไม่ได้มีอำนาจในการเข้ามาบริหารงาน ซึ่งตามกฎหมายแล้ว บริษัท(มหาชน) จำเป็นต้องจัดให้มีการประชุม สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี และอาจจัดให้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อให้ผู้ถือหุ้น เห็นชอบรายการที่เกิดขึ้นระหว่างปี บริษัทมีหน้าที่จัดการประชุมให้เป็นไปอย่างชอบธรรมและโปร่งใส โดยเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น และ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 

ความแตกต่างของการออกแบบ นิตยสารออนไลน์      

(e-Magazine) และ นิตยสารสิ่งพิมพ์

ar experience 8

หากมองภาพรวมของ สื่อนิตยสารออนไลน์ (e-Magazine) และสิ่งพิมพ์แล้ว อาจมองว่า ทั้งสองสื่อนี้ ไม่แตกต่างกัน บางคนมองว่า ก็เพียงแค่ แปลงสื่อสิ่งพิมพ์ มาเป็น ดิจิตอล ก็จะได้ สื่อนิตยสารออนไลน์ (e-Magazine) แล้ว  ก็ต้องตอบว่า เป็นความเข้าใจ ที่ไม่ผิด แต่หากเราเข้าใจและทำเช่นนั้น ก็จะทำให้เราอาจมองข้าม คุณสมบัติพิเศษ ที่มีอยู่ใน นิตยสารออนไลน์ (e-Magazine)  ไปได้


For Module WEB AR 231


For Module WEB AR 232


For Module WEB AR 233

Who's Online

We have 167 guests and no members online

Performance Review 22 23 BANNER

Performance Review 21 22 BANNER

banner

DEF banner 20

DEF banner 19 03

DEF banner 19 02

DEF banner 19 03

New Article

Joomla template by ByJoomla.com